วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การละเล่น หมากขุม

อุปกรณ์ในการเล่น
 
1.รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ 130 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น 2 แถว หลุมกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร ลึกประมาณ 4 เซนติเมตร มีด้านละ 7 หลุม เรียกหลุมว่าเมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ 11 เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
 
2.ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมากใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก จึงต้องใช้ลูกหมากในการเล่น 98 ลูก

จำนวนผู้เล่น
        จำนวน 2 คน

วิธีการเล่น
    1.ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก ทั้ง 7 หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
    2.การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดิมพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดได้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวณว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิม ใส่ลูกหมากหลุมละ 1 เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมหากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตายในหลุมเมืองฝ่ายตน ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่า กินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่หลุมหัวเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
    3.การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลักกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหมากหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ 7 ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในการเล่นจะเล่นจนฝ่านใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้

                              ที่มา : http://www.culture.nstru.ac.th/lifestyle/mark_khum_thai.html

การละเล่น งูกินหาง

จำนวนผู้เล่น
        ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น 


วิธีการเล่น
        งูกินหาง เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

           จากนั้นพ่องูจะพูดว่า "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว" แล้ว วิ่งไล่จับลูกงูที่กอดเอวอยู่ ส่วนแม่งูก็ต้องป้องกันไม่ให้พ่องูจับลูกงูไปได้ เมื่อลูกงูคนไหนถูกจับ จะออกจากแถวมายืนอยู่ด้านนอก เพื่อรอเล่นรอบต่อไป หากพ่องูแย่งลูกได้หมด จะถือว่าจบเกมแล้วเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูจะกลับไปเป็นแม่งูต่อในรอบต่อไป

                                                                   ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/50651

การละเล่น หมากเก็บ

อุปกรณ์การเล่น
        ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน 5 เม็ด


จำนวนผู้เล่น
          ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น 

วิธีการเล่น
        ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก 5 ก้อนเริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง 5 กระจาย ไปบนพื้นกระดานถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย 4 ลูกกระจายบนพื้นทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ ในขณะเดียวกันถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก 2 หมาก3 หมาก4 ต่อไปด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก 3 ลูกพร้อมกันเรียกว่า หมาก3 แล้วจึงเก็บอีก 1 ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก4 และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นได้ ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่นการใช้มือซ้ายป้องและเขี่ย หรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูกทีละ 2 3 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตายยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู" ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่างๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและนิ้วหัวแม่มือยืนพื้น เป็นรูปเหมือนรูปูก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปูหรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้ พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บอย่างไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกลูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน
                                                            ที่มา : http://student.nu.ac.th/sowanee/dib.html

การละเล่น ตีลูกล้อ

อุปกรณ์การเล่น
       คือ “ลูกล้อ”อาจจะเป็นยางรถจักรยานหรือวงล้อไม้ เป็นซี่ๆ ขนาดเหมาะมือ หรือขอบของกระด้งที่ไม่ใช้แล้ว   พร้อม“ไม้ส่ง”เป็นไม้ท่อนตรงขนาดเหมาะมือ กำหนดจุดเริ่มต้นและเส้นชัย ผู้เล่นทุกคนนำลูกล้อของตนมายังจุดเริ่มต้น วิ่งเอาไม้ส่งตีลูกล้อให้กลิ้งไปข้างหน้า ระวังไม่ให้ลูกล้อสะดุดพลิกคว่ำหรือหลุดจากการควบคุม ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ

จำนวนผู้เล่น
        ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น 
วิธีการเล่น
        นำลูกล้อมายังจุดเริ่มต้น หรือเตรียมยางรถจักรยานหรือวงล้อเป็นซี่ๆ และไม้ขนาดเหมาะมือประมาณ 1 ฟุต จากนั้นกำหนดจุดเริ่มต้นและเส้นชัยไว้แต่ละคนนำลูกล้อของตนเองมาที่จุดเริ่ม ต้น และวิ่งเอาไม้ตีลูกล้อให้กลิ้งไป คอยเลี้ยงลูกล้อไว้ให้กลิ้งไปข้างหน้าโดยไม่ให้ลูกล้อสะดุดพลิกคว่ำ แข่งว่าใครจะถึงเส้นชัยก่อนกัน ผู้ที่ใช้วงล้อ จะได้เปรียบเพราะวงล้อมีร่องสำหรับใส่ยาง เอาไม้ต้นได้สะดวกและตรงกว่า ไม่แกว่งไปแกว่งมา ใครถึงเส้นชัยก่อน คนนั้นก็ชนะ 
                                 ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=blogfile=readblogid=4367


ความหมายของการละเล่นของไทย

   การละเล่นของไทย คือ การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน
การละเล่นของไทยพบ หลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง "มโนห์รา" ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน การ ละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่นบางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาด ลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี
  การละเล่นไทยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท
๑. การละเล่นในชีวิตประจำวัน
๑.๑ การละเล่นของเด็ก ซึ่งจะแยกออกเป็นการเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การเล่นกลางแจ้งและในร่ม การเล่นกลางแจ้งหรือในร่มที่มีบทร้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ การเล่นใช้อุปกรณ์ การเล่นของเด็กชาย-หญิงโดยเฉพาะ การเล่นสะท้อนสังคม การเล่นในน้ำ การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องเล่น การละเล่นของเด็ก ซึ่งจะแยกออกเป็นการเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การเล่นกลางแจ้งและในร่ม การเล่นกลางแจ้งหรือในร่มที่มีบทร้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ การเล่นใช้อุปกรณ์ การเล่นของเด็กชาย-หญิงโดยเฉพาะ การเล่นสะท้อนสังคม การเล่นในน้ำ การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องเล่น
๑.๒ การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง งูกินหาง โค้งตีนเกวียน จ้องเตหรือต้องเต ไม้หึ่ง รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า สะบ้า แม่ศรี คล้องช้าง ว่าว 
๑.๓ การละเล่นของผู้ใหญ่ มีเพลงเกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง เพลงเต้นกำ(รำเคียว) เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว เพลงชักกระดาน การเล่นตะกร้อ 
 
๒. การละเล่นในเทศกาลต่างๆ เพลงแห่ดอกไม้ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อยหรือเพลงพาดผ้า

๓. การละเล่นของหลวง ซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงการละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่เพียงแสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้
    
                                                   ที่มา : http://www.dek-d.com/board/view/888810/